วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Top Pick :IVL เด่นสุด Today 24 August 2012

IVL : อินโดราม่า : เกิดสัญญาณกลับตัว Sto %k%d หมดรอบไหลลงระยะสั้นที่ 31 บาท ด้วยโวลุ่มหนาแน่น แนวต้าน 32.75 // 35.5 // 37.5 

คำแนะนำ ซื้อทันที 31-31.25
art2win

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

AOT ระยะสั้นสุดๆ 68.50

AOT วันนี้ 22 สิงหาคม 2555 เกิดสัญญาณ Buy ที่ 66.50 แนวโน้มทดสอบ 68.50 อีก 1-2 วันข้างหน้า มี Upside 3% art2win

10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจ

หายนะทางธุรกิจคือฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากจะจดจำ แต่ถ้าเรารู้จักเรียนรู้ในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นฝันร้ายก็มักจะกลับกลายเป็นดีเสมอ

ให้ทุกก้าวย่างที่ผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนใจ เพื่อที่ว่าครั้งต่อไปจะได้ไม่ก้าวผิดอีก
ในประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของโลกนั้นมีหลายครั้งหลายคราวที่ความล้มเหลวของระบบการเงินได้อุบัติขึ้น และได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของมวลมนุษยชาติเป็นวงกว้างจนหลายคนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว lซึ่งความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดล้วนมีที่มาจากน้ำมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น INCquity จึงอยากจะขอนำผู้ประกอบการทุกท่านไปย้อนรำลึกถึงความล้มเหลวของระบบธุรกิจโลกที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาธุรกิจในวันนี้ โดย 10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกมีดังต่อไปนี้

วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1929
Photo courtesy of B Tal

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริการยุคปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ที่หากกล่าวไปคงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล ซึ่งวิกฤติทางการเงินในครั้งนั้นเกิดจากความตื่นตูมจนเกินเหตุของเหล่าบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท และพากันไปกู้เงินมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวเพื่อหวังรวยทางลัด จึงเป็นที่มาของการเกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ หุ้นของหลายๆบริษัทมีราคาทะยานขึ้นสูงเกินกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่เศรษฐกิจของอเมริกาช่วงนั้นกำลังถดถอย ทำให้เมื่อถึงเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายๆบริษัทมีอาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีท ก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด มีการระดมเทขายอย่างหนัก จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไปในพริบตา ไม่เว้นแม้กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายไปหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้

วิกฤติการเงินในครั้งนี้จึงสอนให้เรารู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริงไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย

วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนติน่า ปี ค.ศ. 1999-2002
Photo courtesy of mootioon

วิกฤติทางการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนมาถึงประชาธิปไตยที่มีการกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่สูงมาก จนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมดโดยมีการกำหนดค่าเงินบาทแบบตายตัว แต่แทนที่นโยบายดังกล่าวจะช่วย มันกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้น เพราะค่าเงินแข็งเกินไปสินค้าส่งออกขายได้ยาก หนี้เก่าเองก็มีเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ต้องชำระหนี้สินกับต่างประเทศก็ไม่มีใช้คืนให้เขา สุดท้าย IMF เลยต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วน

ในกรณีนี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขนาดไหน

วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกรีซ ปี ค.ศ. 2009
Photo courtesy of euronews

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง โดยสาเหตุหลักๆมีที่มาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของกระแสเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะขึ้นสูงถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่มันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลาย

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมีที่มาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะขึ้นสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง

วิกฤติการเงินในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1998
Photo courtesy of Ray Cunningham

วิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าอร่อยในครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดร้าวให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเรื่องเริ่มจากรัสเซียในขณะนั้นเพิ่งจะหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าหลักๆในขณะนั้นก็คือพวกเหล็ก น้ำมัน และทองแดงเป็นสินค้าส่งออกหลัก โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่พอเอเชียประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเองเข้า การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็น้อยลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม จึงเริ่มเป็นที่มาของราคาสินค้าตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างของประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากนำออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด)ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และนักลงทุนขณะนั้นก็มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของรัสเซียพอสมควรเพราะพวกเขาเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่คงไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด นักลงทุนจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วฝันร้ายก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความละโมบโลภมากของนักลงทุนนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง แต่ดันจับต้องไม่ได้จริง

วิกฤติทางการเงินที่ประเทศสวีเดน ค.ศ. 1990-1994
Photo courtesy of marabuchi

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่วิกฤติทางการเงินครั้งนี้มาเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดเด่นตรงนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะที่สูงมากนานหลายสิบปี จนเมื่อประมาณปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดที่มีต่อสถาบันทางการเงินหลังจากคงอยู่มานานถึง 50 ปี ผลก็คือสถาบันทางการเงินปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ สินทรัพย์ต่างๆในช่วงนั้นราคาทะยานขึ้นสูงอย่างประวัติการณ์จนก่อให้เกิดเป็นการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ที่ว่านั่นก็แตก สินทรัพย์ต่างๆลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าไปในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผลนักธุรกิจและประชาชนก็ต่างไม่มีเงินใช้หนี้ที่กู้มา ธนาคารก็เริ่มล้มลงเป็นแถบๆ และลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด จึงเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักจะทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาควบคุมให้ระบบเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยที่ไม่ผูกขาดเกินไปหรือปล่อยจนเกินไป

นี่เป็นเพียงวิกฤติทางการเงิน 5 อันแรกเท่านั้น แต่ถ้าผู้ประกอบการยังรู้สึกว่ายังไม่จุใจ INCquity ยังมีให้ผู้ประกอบการได้ติดตามอ่านกันต่อไปอีก 5 อัน ในบทความที่มีชื่อว่า “10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกตอนที่ 2”

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

อัพเดท หุ้นทางเทคนิค 8/3/2012

หุ้นน่าสะสม TPIPL ,BANPU

ปิดตลาดวันนี้ TPIPL ปิดที่ 15.7 ค่า MACD ต่ำกว่า 0 , และปิดตรงขอบล่างเส้น Bolinger band ,Rsi ต่ำกว่า 40 แนะเริ่มทยอยสะสม 20% แรก

BANPU ปิดตลาดที่ 634 แนวโน้มอ่อนค่าต่อ แนวรับสำคัญ 612-616 ทยอยสะสม 20%


วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

แจก BlackBerry PlayBook ร่วมโดย Chester's Grill Thailand และ Thai BB Club

Image

วันนี้เรามีกิจกรรมร้อนแรงมาฝากเพื่อนๆชาว BB กันครับ แค่ร่วมกิจกรรมกับ Thai BB Club และ Chester's Grill Thailand รับไปเลย BlackBerry PlayBook จำนวน 1 เครื่อง โดยจะมีกิจกรรมที่หน้า Fanpage ของ Chester's Grill Thailand >>http://www.facebook.com/chesterthai โดยมีกติกาดังนี้

กิจกรรม มีนาหน้าร้อน Chester's Grill จะทำให้ร้อนแรงยิ่งกว่า

โดยผู้ร่วมกิจกรรมนั้นแค่เพียง โพสรูปกิจกรรมที่คุณได้ไปท่องเที่ยวในหน้าร้อน ไม่ว่าจะถ่ายรูปเดี่ยว รูปคู่ รูปหมู่ และมีคนกดถูกใจเยอะที่สุดรับไปเลย

รางวัลที่ 1 Blackberry PlayBook 16 GB จำนวน 1 เครื่อง

และรางวัลปลอบใจ gift voucher (บัตรกำนัลแทนเงินสด) มูลค่า 2,000 บาท 5 รางวัล *** ใช้ได้กับ Chester's Grill ทุกสาขา (ยกเว้นสาขาเมืองทองธานี, ศูนย์ฯสิริกิติ์, สนามบินภูเก็ต,เกาะช้าง) ***

เริ่มกิจกรรมวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม 2554 และสิ้นสุดกิจกรรมวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2554 เวลา 18.00 น.

ประกาศผลกิจกรรมวันจันทร์ที่ 11 เมษายน 2554

- ต้องโพสรูปที่ Fan Page Chester's Grill Thailand โดยขึ้นต้นคำอธิบายที่รูปว่า " มีนาหน้าร้อน Chester's Grill จะทำให้ร้อนแรงยิ่งกว่า http://www.facebook.com/chesterthai "

ตัวอย่างการลงรูป
Image

- เพื่อนที่กด like หรือ ถูกใจ ต้องเป็น Fan Page Chester's Grill Thailand >> http://www.facebook.com/chesterthai และ Fan Page Thai BlackBerry Club >> http://www.facebook.com/BlackBerryClub ถึงจะได้รับคะแนน

- 1 ชื่อสมาชิก เท่ากับ 1 คะแนน

- การตัดสินของทีมงาน ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

หมายเหตุ รางวัลที่ 1 Blackberry PlayBook จะได้รับของรางวัลประมาณปลายเดือนเมษายนหรือจนกว่า Blackberry playbook จะมีเข้ามาว่าจำหน่ายจากตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

รายละเอียดข้อมูลเครื่อง BlackBerry PlayBook >> http://thaibbclub.com/mobile/BlackBerry_PlayBook.html

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทสินค้าและลูกค้าของ SiS

เรื่อง : ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทสินค้าและลูกค้าของ SiS
เรียน : ท่านสมาชิก Thai Value Investor


ตามที่ท่านสมาชิกของ Thai Value Investor ได้สอบถามเรื่องประเภทสินค้าที่ SiS จำหน่ายและโครงสร้านทางธุรกิจซึ่งบริษัทฯ อาจจะไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดมากนัก เนื่องจากข้อมูลบางด้าน บริษัทฯ ไม่ได้เปิดเผยเพราะอาจมีผลต่อการแข่งขัน จึงขอค่อย ๆ ทะยอยชี้แจงเพิ่มเติมเท่าที่สามารถเปิดเผยได้ดังนี้

ในครั้งนี้ ขอเริ่มจากลูกค้าของบริษัทฯ และประเภทสินค้าก่อนครับ

โดยโครงสร้างธุรกิจแล้ว ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ SiS เป็นบริษัทฯ ค้าส่ง ซึ่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต แล้วขายให้กับผู้ที่ทำธุรกิจด้าน IT เป็นหลัก ดังนั้น หลาย ๆ บริษัทฯ ที่ท่านสมาชิกกล่าวถึง ล้วนเป็นลูกค้าของ SiS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Com7, JIB, IT City ฯลฯ ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ เป็นบริษัทฯ ค้าปลีกที่นอกจากจะซื้อสินค้าจาก SiS แล้ว จะซื้อสินค้าจากผู้ค้าส่งรายอื่นด้วย รวมทั้งบางรายก็มีการซื้อจากผู้ผลิตโดยตรงด้วยเช่นกัน นอกจากลูกค้ากลุ่ม Retail แล้ว บริษัทฯ มีลูกค้ากลุ่มที่ขายเข้าภาคธุรกิจอีกมากเช่นกัน โดยลูกค้ากลุ่มนี้ ขายเข้าองค์กรและโครงการต่าง ๆ แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก เพราะไม่มีหน้าร้าน บางบริษัทฯ ก็อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่น่าจะทำให้รู้จักกันดีขึ้นบ้างเช่น AIT, Metro Systems, MFEC ซึ่งบริษัทฯ เหล่านี้ ล้วนเป็นลูกค้าที่ดีของ SiS ทั้งสิ้น

ถ้าแบ่งประเภทของผู้ซื้อ/ผู้ใช้งานปลายทาง สามารถแบ่งได้เป็นหยาบ ๆ 2 ประเภทคือ 1) การซื้อเพื่อใช้ส่วนตัว/ใช้ในครัวเรือน (Consumer) 2) การซื้อใช้ในธุรกิจ (Commercial) ซึ่งถ้าแบ่งในลักษณะนี้ ในอดีต Commercial จะใหญ่กว่ากลุ่ม Consumer มาก เพราะในอดีตสินค้า IT มีราคาสูง ความคุ้มค่าในการใช้งาน จะเกิดจากภาคธุรกิจก่อน อย่างไรก็ตาม ต่อมามีการพัฒนาสินค้าและบริการต่าง ๆ สำหรับการใช้ส่วนตัวและครัวเรือนด้วย จนเมื่อสินค้าราคาลดต่ำลง การใช้ส่วนตัว เริ่มขยายตัวขึ้น จนในปัจจุบัน สินค้าที่ SiS จำหน่าย มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน ระหว่าง Commercial และ Consumer

สำหรับสินค้าที่ขายให้กลุ่ม Commercial ก็แบ่งตามสถานะของสินค้าได้เป็น 2 แบบหลัก คือ 1) สินค้าประเภทใหม่ที่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เพิ่งคิดค้นได้ สินค้ายังคงต้องพัฒนาเพิ่มเติมให้ดีขึ้น ซึ่งจะเรียกสินค้าชนิดนี้ว่า Value 2) สินค้าที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว มีการพัฒนาจนใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ซึ่งจะเรียนสินค้าประเภทนี้ว่า Volume สินค้าประเภท Value เมื่อผ่านไปนาน ๆ และได้รับความนิยม ก็จะกลายมาเป็นสินค้า Volume

สินค้าประเภท Volume จะมีขนาดตลาดใหญ่กว่า ยอดขายสูง และขายโดยไม่ต้องให้บริการอะไรมากนัก เพราะรู้จักกันดีทั้งคนขายและคนซื้อ สินค้าก็พัฒนากันจนใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ในขณะที่สินค้าประเภท Value ตลาดเล็กกว่ามาก ในการขาย จะต้องมีฝ่ายเท็คนิคเข้าไปให้ความช่วยเหลือทั้งก่อนการขายและหลังการขาย เพราะสินค้ายังอยู่ในช่วงพัฒนา ยังใช้ยาก ซึ่งในแง่ของกำไรขั้นต้น สินค้าประเภท Value จำเป็นต้องมีกำไรขึ้นต้นสูงกว่า เพราะในการจำหน่ายต้องมีบริการต่าง ๆ เพิ่มเติมเข้าไปด้วยอีกมาก ซึ่งบริการหลังการขายของสินค้ากลุ่มนี้ เช่นการติดตั้ง การให้คำแนะนำการใช้งาน ฯลฯ จะมีการคิดค่าใช้จ่ายกับลูกค้า

สำหรับ Juniper Networks เป็นสินค้าด้าน Security ซึ่งถือเป็นสินค้า Value โดยเดิม Junper แต่งตั้งให้ DataOne เป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวมานานหลายปี และ DataOne ก็มี Junipter เป็นสินค้าหลักของทั้งบริษัทฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าในเชิงจำนวนพนักงานที่ความรู้ ทาง DataOne มีมากกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อ Juniper เห็นว่าตลาดโตขึ้น จึงให้ SiS เป็นผู้จำหน่ายอีกรายในปี 2009 เพื่อช่วยขยายการขายให้กว้างขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้พนักงานฝ่ายเทคนิค เข้าฝึกอบรมกับ Juniper มาหลายหลักสูตรแล้ว แต่สินค้า Juniper มีรายละเอียดมาก ยังมีอีกหลายหลักสูตรที่ยังคงต้องเรียนรู้ต่อไป ซึ่งในปีนี้ บริษัทฯ เริ่มจำหน่าย Juniper ได้มากขึ้น และเนื่องจากเป็นสินค้าชั้นนำของโลก มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด บริษัทฯ จะมีการลงทุนด้านการให้พนักงานศึกษาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าจะมีความรู้อย่างเพียงพอจนสามารถจำหน่าย Juniper ได้เพิ่มขึ้นมาก ๆ ได้ภายในไม่ช้า

สำหรับ Symantec ก็ถือว่าเป็นสินค้าประเภท Value ที่ต้องมีการสนับสนุนด้านเทคนิคที่สูงเช่นกัน ซึ่งในประเทศไทย มี distributor 3 ราย (ที่บางท่านเข้าใจว่าบริษัทฯ เป็นผู้แทนจำหน่ายเพียงรายเดียว ไม่ถูกต้องครับ แต่ก็ดีใจที่บริษัทฯ น่าจะทำได้ดีจนคิดว่าเป็นผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว) โดยบริษัทฯ เริ่มจำหน่าย Symantec มาตั้งแต่ปี 2006 มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ดีจนถือว่าในแง่สินค้า Symantec นี้ ในกลุ่ม Distributor ด้วยกัน บริษัทฯ น่าจะเป็น distributor ที่มีบุคลากรที่มีความรู้ดีที่สุดในประเทศไทย สามารถให้บริการได้อย่างครบถ้วน และได้รับความไว้วางใจจากผู้ค้าคอมพิวเตอร์ ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ จาก SiS เพื่อนำไปจำหน่ายต่อเป็นอย่างดี

ในเชิงกำไร ถ้ามองเฉพาะกำไรขั้นต้น สินค้า Value จะมีกำไรขั้นต้นสูงกว่า แต่ก็มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่สูงกว่าเช่นกัน ขนาดตลาดของสินค้ากลุ่มนี้จะเล็กกว่า รวมทั้ง การขยายธุรกิจ ทำได้ช้า เพราะมีส่วนของ Professional Service สูง ต้องมีบุคลากรด้านเทคนิคเพิ่มตามยอดขาย ทำให้ขยายธุรกิจได้ช้า เพราะต้องพึ่งพาพนักงานที่มีความรู้สูงที่ต้องผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกัน สินค้ากลุ่ม Volume มีกำไรขั้นต้นน้อยกว่า แต่มียอดขายสูง และขยายธุรกิจได้ง่ายและเร็ว การพึ่งพาบุคลากร มีไม่มากเหมือนสินค้ากลุ่ม Value ดังนั้น โดยรวมแล้ว ก็ต้องทำคู่ ๆ กันไป ซึ่งในแง่ SiS จะใช้ฐานลูกค้าของธุรกิจของสินค้า Volume เป็นฐานในการขยายการขายสินค้า Value และในระยะยาว สินค้า Value ก็จะกลายเป็นสินค้า Volume ที่ทำให้ SiS มีสินค้าขายอย่างต่อเนื่อง

วันจันทร์ที่ 9 นี้ น่าจะส่งผลประกอบการแล้ว ถ้ามีคำถามเพิ่มเติม จะรวบรวมแล้วหาโอกาสชี้แจงต่อไปครับ

ขอแสดงความนับถือ

นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ
กรรมการผู้จัดการ
SiS Distribution (Thailand) PCL

ข้อดีของ SIS

ตลาด ICT ของไทยมูลค่าโดยประมาณคือแสนล้าน ซึ่งเกิดจาก Hardware + Software + Service + Mobile

SiS มีฐานผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่ม H/W & Mobile เป็นหลัก ถ้าอ้างอิงจากตัวเลข 56-1 ซึ่งเป็นตัวเลข NECTEC จะอยู่ที่ เจ็ดหมื่นล้าน (ซึ่งน่าจะไม่ได้รวม Mobile) และ SIS มีส่วนแบ่งล่าสุดคือ 18% ใน 2552

ที่เหลือหายไปไหน ?
ถ้าเรานับ Distributor ในไทยขนาดใหญ่ก่อน มีอยู่ 3 ราย คือ SiS / Value ECS / Synnex แต่ละรายจะมียอดขายประมาณ 13,000 ล้าน และ Distri ขนาดกลางอีก 2 เจ้าคือ Ingram / DCom รายละ 8,000 ล้าน ส่วน Com7, A&L อยู่ราวๆ 3,000 ล้าน และบรรดารายย่อยคือ M-tech, ACA Pacific, Digiland ฯลฯ และอื่นๆ รวมกันราวๆ 3000 ล้าน รวมๆ กันอยู่ประมาณ 65,000 ล้านบาท (ซึ่งกลุ่มนี้ข้างต้นทั้งหมดเราเรียกว่า 2-Tier model คือ Vendor > Distri > resellers > Enduser ผ่าน 2 ชั้นก่อนถึงผู้ใช้ )

อีก 20,000 ล้าน เป็นยอดขายประเภท 1-tier และ Direct Sales (หมายถึง จาก Vendor ไปยัง Reseller > End User และ Direct Sales หมายถึง Vendor > User ตรง) ของ Vendor ไปยังลูกค้า อาทิ เช่น Oracle, IBM, Lenovo, Dell, Toshiba รวมไปถึงบรรดา Project พวก telecom อย่าง Huawei / Cisco / Nokia ฯลฯ ซึ่งพวกนี้เราจะไม่ค่อยได้สัมผัสกัน..ที่เราพูดคุยกันส่วนใหญ่ คือ ตลาด Retail หน้าร้านพันธ์ทิพย์ ตลาด Notebook หรือตลาดมือถือส่วนของ Handset ซึ่งเป็นส่วนผู้ใช้รายย่อยๆ ของตลาด Telecom ในสองหรือสามหน้าก่อนนี้ ผมได้เคยบอกไปแล้วด้วยเช่นกัน ว่าภาพที่เราเห็นนั้น แสดงแค่ราวๆ 60% ของยอดขาย และแสดงแค่ 50% ของกำไร เพราะสินค้ากลุ่ม retail นั้นมีกำไรต่ำ ส่วนสินค้าพวกที่ขายเป็น project จะมีกำไรสูงกว่ามาก (อย่างน้อย 1 เท่าตัว)

ในเชิงของ Distributor ใหญ่ 3 ราย มีขนาดพอๆ กัน มีกลุ่มลูกค้าซ้ำกันราวๆ 70-80% จุดแข็งสำคัญในการสู้กับคู่แข่ง มีสอง factor หลัก คือ Operating Cost ต้องต่ำที่สุด และ Cover ตลาดให้ได้มากที่สุด

เพราะโดยความคิดของคนทั่วไปจะมองว่า Distri คือ ยี่ปั๊ว เป็นเสือนอนกิน โดยมีค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าราวๆ 5% หากตัดคนกลางได้ต้นทุนก็จะต่ำลง

ดังนั้นสินค้าใหม่ๆ เมื่อเข้าตลาด จะต้องอาศัยโครงข่ายของ Distri ในการกระจายสินค้า เพราะมี Economy of scale ส่วนบรรดาสินค้าที่มีขนาดตลาดใหญ่ ก็มักจะเริ่มขายโดยตัด Distir ออกไป แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นกับโครงสร้างการจัดการต้นทุนของ Vendor / Distri / reseller เองด้วย

อะไรเป็นจุดแข็งของ SiS
> เป็น Distri ที่มี Sales เก่งที่สุดในการขายสินค้า Project (และ Synnex อ่อนที่สุด)
> กำลังขยายตลาดไปยังตลาดต่างจังหวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ขายสินค้าหลักของ Synnex
> สินค้า Project มีกำไรสูงกว่าสินค้า retail
> การคำนวณมูลค่าสำรองต่างๆ อาทิ หนี้สูญ หรือสินค้าเสื่อมสภาพ เป็นไปแบบ Agressive ทีสุด แปลว่า ปลอดภัยสำหรับผู้ถือหุ้น โอกาสเกิด Bad Surprise น้อย แต่โอกาสเกิด Good Surprise มีมากกว่า
> มีการใช้ Financial Tool ต่างๆ เพื่อมาช่วยทำให้ เกิดการซื้อขายสินค้าได้คล่องขึ้น เช่น Factoring / dealer financing / credit insurance ฯลฯ (เป็น Distri ที่จัดการเรื่องนี้เก่งที่สุดใน 3 ราย)

ขอขอบคุณ คุณProxity จาก thaivi ครับ